มีเรื่องเล่าท้องถิ่นของประชาชนสองฝั่งแม่น้ำโขง ทั้งที่ สปป.ลาว และภาคอีสารของไทย ว่าด้วยกำเนิดแม่น้ำโขงและแม่น้ำนาน รวมไปถึงแปว (ปลายหรือต้นรู้) ของพญานาคที่มีมาช้านาน โดยตำนานนี้เป็นส่วยหนึ่งใน “ตำนานผาแดง นางไอ่” ซึ่งตัวละครหลัก นอกจากท้าวผาแดง แห่งเมืองผางโผง และนางไอ่ แห่งเมืองเอกชะธีตา (หนองหาน) แล้วยังมี “ท้าวพังคี” บุตรชายพญานาคผู้ครองเมืองบาดาลแห่งแม่น้ำโขง ท้าวพังคีผู้แปลงร่างเป็นกระรอกเผือก ซึ่งชาวลาวและชาวอีสานของไทยเรียกกันว่า “กะฮอกด่อน” เพื่อจะได้ยลศิริโฉมของนางไอ่คำทั้งนี้ในตำนานผาแดง นางไอ่ได้กล่าวบรรพชนของนาคชื่อ”ท้าวพังคี” ก่อนที่จะมายู่ในแม่น้ำโขง บรรพชนเคยยู่เมืองหนองแสมาก่อนโดยในตำนานกล่าวไว้ว่า
บริเวณเมืองหนองแสหรือเมืองหนองกระแสแสนย่าน ก่อนที่จะมีกลุ่มคนตระกูลไท-ลาวมาตั้งเป็นเมืองนั้น เคยเป็นอานาจักรของพญานาคมาก่อน พญานาคได้สร้างบ้านเมืองอยู่ในทะเลสาบที่หนองกระแสแสนย่าน อันเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีคาวมกว้างใหญ่ไพรศาลหลายกีโลเมตรและยาวถึง40 กิโลเมตร มีผู้สันนิษฐานว่าหนองกระแสแสนย่านนี้คือทะเลสาบเอ่อไห่ ในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน
บริเวณดังกล่าวมีพญานาคสองสหายแบ่งกันปกครอง “พญานาคราชศรีสุทโธ” ปกครองครึ่งหนึ่ง และ “พญานาคสุวรรณโค” ปกครองอีกครึ่งหนึ่งมีบริวารฝ่ายละ 5,000 ตนเท่ากัน
พญานาคทั้งสองฝ่ายอยู่ด้วยกันด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีอาหารการกินก็เอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเพื่อนตายเป็นสหายฮักแพง กันตลอดมา สองสหายมีสัญญาใจร่วมกันข้อหนึ่งว่า ถ้าฝ่ายใดออกไปล่าเนื้อหาอาหาร อีกฝ่ายตั้งอยู่รักษาบ้านเมือง เพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่งเกิดการรบราขึ้นได้ โดบฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารจะนำอาหารที่หาได้มาแบงกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำเช่นนี้ทำให้พญานาคทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขเรื่อยมา
บัดนี้จักกล่าวก้ำ นาคใหญ่สองพญา
พากันครองหนองแส นั่งปองเป็นเจ้า
ชื่อว่าสุทโธเถ้า พระยาหลวงนาคราช
อำนาจกว้าง ถนอมตุ้มไพร่พล
ตนหนึ่งเฮียกชื่อชั้น สุวรรณนานามกษัตริย์
สองก็ไดเป็นสหายฮัก ขอดกันทันขัน
สองก็พากันสร้าง หนองแสแสนย่าน
ปันเคิ่งให้ เสมอเท่าท่อกัน
อยู่มาวันหนึ่ง พญานาคราชศรีสุทโธผู้มีนิสัยใจร้อน หุนหัน บุ่มบ่าม แต่กล้าหาญ เป็นฝ่ายออกไปหาอาหาร ด้วยความกล้าหาญ กล้าคิดกล้าตัดสินใจ และเชื่อมั่นในตัวเองเต็มเปี่ยม จึงสามารถล้มช้างได้หนึ่งตัว เมื่อล้มช้างได้ก็จัดแบ่งเนื้อช้างไปให้พญานาคสุวรรณนาโคครึ่งตัว พร้อมกับนำขนช้างไปให้ดูเป็นหลักฐาน พญานาคพร้อมทั้งบริวารทั้งสองฝ่ายได้กินเนื้อช้างอย่างอิ่มหมีพีมัน
ฝ่ายพญานาคสุวรรณนาโคผู้มีนิสัยคิดละเอียดถี่ถ้วน อ่อนโยนเยือกเย็นเมื่อได้กินเนื้อช้างที่สหายมอมให้ก็รู้สึกอิ่มเอมและคาดหวังว่าตนเองจะสามารถหาอาหารที่มีจำนวนมากที่มีคุณค่าเท่าเทียมกับเนื้อช้างมามอบให้สหายได้เช่นกัน
ถึงคราวที่พญานาคสุวรรณนาโคและบริวารเป็นฝ่ายออกไปล่าเนื้อหาอาหาร อาจจะเป็นเพราะว่าพญานาคสุวรรณนาโคไม่เด็ดเดียว ไม่กล้าตัดสินใจจึงล่าเพียงเม่นตัวเล็กๆตัวเดียว เมื่อกับมาถึงก็ได้แบ่งเนื้อเม่นให้พญานาคราชศรีสุทโธครึ่งหนึ่งตามสัญญาใจที่มีให้กัน พร้อมทั้งนำขนเม่นไปให้ดูเป็นหลักฐาน เนื่องจากเม่นตัวนิดเดียว เมื่อแบ่งครึ่ง พญานาคราชศรีสุทโธจึงได้รับเนื้อเม่นเพียงเล็กน้อย
พญานาคราชศรีสุทโธไม่เคยเห็นตัวเม่นมาก่อน เมื่อเปรียบเทียบขนเม่นกับขนช้างเห็นว่า ขนช้างเส้นนิดเดียวตัวยังใหญ่ขนาดนี้ แล้วขนเม่นใหญ่ขนาดนี้ ตัวจะใหญ่ขนาดไหน ถึงอย่างไร ตัวเม่นก็ต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน เมื่อคิดเช่นนั้นก็เอะใจว่า “สหายดีกับเราจริงหรือ ดูสิเราเคยแบ่งช้างให้ครึ่งตัว เนื้อมากกองเท่าภูเขาเลากา แต่ทำไม่สหายแบ่งเนื้อเม่นให้เรานิดเดียว” จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับไปคืนพญานาคสุวรรณนาโคพร้อมกับฝากบอกว่า “เราไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรม จากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์”
ฝ่ายพญานาคสุวรรณนาโค เมื่อได้ยินดังนั้นจึงรีบเดินทางไปพบพญานาคราชศรีสุทโธเพื่อชี้แจงให้ทราบว่า ขนเม่นแม้นจะใหญ่โตแต่ตัวมันเล็กนิดเดียว และเนื้อเม่นนี้เป็นเนื้อที่กินอร่อยกว่าเนื้อสัตว์ใดๆ ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเถิด พญานาคสุวรรณนาโคพูดเท่าไร พญานาคราชศรีสุทโธ ซึ่งมีความโกรธตั้งแต่เห็นเนื้อเม่นเป็นทุนเดิม สั่งให้บริวารไพร่พลทหารรุกรบทันที
แรกๆพญาสุวรรณนาโคเพียงแค่ป้องกันไม่ให้เจ็บตัว แต่เพื่อนไม่ยอมเลิกรา ในที่สุดทั้งสองก็ต้องสู้รบกันยาวนานนับได้เวลา 7 ปี 7 เดือน กับอีก 7 วัน จนหนองกระแสแสนย่านขุ่นข้นเป็นเลนตม สร้างความเดือดร้อนให้เหล่าสรรพสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำ พลอยอยู่ไม่ได้หนี้ขึ้นไปตายเกลื่อนบนบกเน่าเหม็น สัตว์บกทั้งหลายที่อาศัยหนองน้ำกระแสเป็นที่เล่นน้ำและดื่มกินก็ทุกข์ร้อน แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าและสิ่งมีชีวิตรอบๆ หนองกระแสก็เดือดร้อนไปตามกัน เมื่อการสู้รบแรงจนถึงที่สุด ทำให้พื้นโลกสะเทือนเลื่อนลั่น แผ่นดินไหวไปทั่ว เทพยดาน้อยใหญ่ได้รับความเดือดร้อน เมื่อความทุกข์ร้อนขยายวงกว้างไปทั่งทั้งย่านนั้น จนต้องพากันขึ้งไปบนเมืองฟ้านำคาวมเดือดร้อนไปฟ้องพญาแถน
เมื่อพญาแถนรู้เรื่องก็โกรธว่า นี่อะไรกัน แถนสร้างโลกให้เป็นที่อยู่อาศัยร่มเย็นของมนุษย์และสรรพสัตว์ หนองกระแสเป็นที่อยู่อาศัยพึ่งพากันของสัตวับหมื่นนับแสน แล้วไยสูพญานาคสองตนซึ่งเป็นสหายฮักแพงกันแท้ๆ จะมาทะเลาะกันเพียงเรื่องขี่หมูราขี้หมาแห้ง ทำให้ใครต่อใครเดือร้อนไปทั่ว พญาแถนหาวิธีการเกลี้ยกล่อมให้พญานาคทั้งสองตนหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของโลกมนุษย์ ว่าแล้วพญาแถนก็ตรัสเป็นเทวราชโองการว่า “ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้ การทำสงครามกันครั้งนี้ถือว่าเสมอกัน และให้หนองกระแสแสนย่านเป็นเขตปลอดสงคราม” พร้อมทั้งสั่งว่า “แต่นี้ต่อไปให่สูสองตนไปหาที่อยู่ใหม่ อย่าได้มาอยู่ร่วมกันกับสรรพสัตว์บนผืนโลก ให้ย้ายลงใต้ ไปขุดที่อยู่เอาเองใต้บาดาล อย่าได่โผล่หน้าขึ้นมาพื้นดินอีกเลย”
พญาแถนได้ให้ข้อคิดเพื่อเตือนสติและให้พรพญานาคทั้งสองตนพร้อมบริวารว่า….
“สูเจ้าทั้งสองตน พร้อมบริวารล้วนแต่มีความรู้ความสามารถ มีคุณค่าอยู่ในตนเอง ความรู้ ความส่ามารถ และเรื่องราวจากประสบการณ์ที่พวกสูเจ้ามีล้วนมีความสำคัญและมีคุณค่ามากนัก หากสูเจ้าไม่เห็นคุณค่าแล้วใครละจะเห็น…
“สูเจ้าเกิดมาในโลกนี้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ให้กับโลก ทางที่ดีที่สุดคือพวกสูเจ้าจงมีความเพียรในการใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายให้ประสบความสำเร็จ สูเจ้าจงทำงานแบบสร้างตำนาน ทำชีวิตให้มีคุณค่า มีความหมายและมีความสุข ค้นหาสิ่งที่สูเจ้ารัก รักในงานที่ทำและมีความสุขในทุกขณะลงมือทำ ให้ทุกขณะเป็นประโยชน์ทั้งต่อภายนอกคือผู้อื่นและต่อภายในคือใจของสูเจ้าเอง…
“ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปข้าขอให้พญานาคและบริวารทั้งหลายเป็นตัวแทนของความเพียรอันยิ่งใหญ่ มีความอุดมสมบูรณ์ มีวาสนา เป็นผู้สร้างประกายแห่งสติปัญญาด้วยการมีพลังวิเศษที่สามารถดลบันดาลให้มวลมนุษย์และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายพานพบแต่ความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง และความสำเร็จสมปรารถนาในทุกประการ รวมทั้งให้เพียรทำตนเป็นดั่งสะพานหรือบันไดสายรุ่งเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์”
ประกาศิตของพญาแถนได้ลั่นไปแล้วว่า พญานาคราชศรีสุทโธและพญานาคสุวรรณนาโคต้องไปหาที่สร้างบ้านเมืองใหม่ และต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นพญานาคตนใหม่ที่มีพลังวิเศษในตน
เมื่อนั้นราชาท้าวทั้งสองพระยานาคก็จำต้องพาไพร่พลออกจากหนองกระแสตามบัญชาเทพแมนเมืองฟ้า'
พญาแถนลงโทษให้พญานาคทั้งสองต้องสร้างแม่น้ำจากหนองกระแสออกไปถึงทะเลคนละสาย และเมื่อสร้างเสร็จให้แต่ละตนอาศัยอยู่เมืองบาดาลในแม่น้ำที่สร้างขึ้นนั้น
แต่พญาแถนก็ยังมีถ้อยคำอันเมตตาและให้ทั้งสองฝ่ายมีความฮึกเหิมว่า”ถ้าผู้ใดขุดรูไปถึงมหานทีทะเลกว้างก่อน จะมีรางวัลในการให้มีปลาบึกอยู่อาศัยในลำน้ำที่สร้างเสร็จก่อน”
พญานาคทั้งสองรับฟังบัญชาซึ่งเปรียบเสมือนคำสาปจบ ก็พาไพร่พลออกจากหนองกระแสตามบัญชาเทพแมนเมืองฟ้า เร่งหาพื้นที่เจาะไชผืนแผ่นดินให้เป็นร่องเป็นรูลดเลี้ยวเคี้ยวคด
พญานาคสุวรรณนาโคพาบริวารไพร่พลออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ้งไปทางทิศใต้ของหนองกระแส ด้วยพญานาคสุวรรณนาโคเป็นคนซื่อตรงทำสิ่งใดก็ละเมียดละไมพิถีพิถัน และเป็นผู้มีใจเย็น การสร้างแม่น้ำจึงต้องทำให้ตรงและคิดว่าการทำแม่น้ำแบบตรงๆจะทำถึงจุดหมายปลายทางก่อน ตนจะได้เป็นผู้ชนะ พญานาคผู้ละเมียดละไมพิถีพิถันจึงดั่งแผ่นดินจนเป็นร่องน้ำเจอหินขวางก็เข็นออก จนเกินเป็นแม่น้ำกว้างใส ตกแต่งฝั่งแม่น้ำจนงดงามแต่เพราะมั่วตกแต่งสองฝั่งแม่น้ำจึงยังไม่ได้เชื่อมแม่น้ำที่ตนสร้างกันหนองกระแสแสนย่าน
แม่น้ำที่พญานาคสุวรรณนาโคสร้างนี้ ต่อมาเรียกว่า “แม่น้ำน่าน”
ท้าวกะพาพลสร้าง บ่มีหินแก้งหาด
บ่ได้เป็นดาดเวิ้ง หินแก้งแก่งเสมอ
ท้าวก็ทำเพียรสร้าง หลายวันลำบาก
สุวรรณนาเจ้า ทำช้าบ่ทัน
ก็จิงเสียชัยท้าว สุทโธพระยาใหญ่
ปลาบึงขึ้นบ่ได้ พลอยซ้าซอดลุน
ก็บ่ปูนปานท้าว สุทโธมหราช
หินหาดแก้ง ยามแล้งบ่มี
สุวรรณนาคเจ้า คิดถี่ไปดี
แปงนทียาวเลิก บ่มีหินแก้ง
ท้าวกะปูนแปงสร้าง คงคายาวย่าน
เฮียกว่าน้ำน่านกว้าง เดี๋ยวนี้ สืบมา
“แม่น้ำน่าน” จึงเป็นแม่น้ำที่มีความตรงกว่าแม่น้ำทุกสายในภูมิภาคนี้ และเป็นแม่น้ำที่มีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง
ส่วนพญานาคราชศรีสุทโธได้พาบริวารไพร่พลอพยพออกจากหนองกนะแสไปสร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส ตรงไหนเป็นภูเขาก็คดโค้งไปตามภูเขา หรืออาจจะลอดภูเขาบ้าง เพราะอุปนิสัยใจร้อนบุ่มบ่าม ทำสิ่งใดรวดเร็วปุบปับ คำนึงถึงเป้าหมายปลายทางเป็นหลัก เร่งคิดเร่งทำ เจอหน้าผาหินขวางก็หลบเลี่ยงเบี่ยงไปข้างๆ บางแห่งก็ทำพอถากๆแบบคนใจร้อน จึงได้ลำน้ำที่โค้งคดและเต็มไปด้วยสันดอน เกาะแก่ง หินตาดโตด น้ำจึงถั่งหลั่งไหลรุนแรง บางแห่งก็กว้างเป็นวังเวิ้งลึกหนัก ยากที่มนุษย์ทั่วไปจะดำลงถึงพื้นดินได้ แม่น้ำที่พญานาคราชศรีสุทโธสร้างนี้ ต่อมาเรียกว่า “แม่น้ำโขง”
คำว่า “โขง” มาจากคำว่า “โค่ง” ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่ง สปป.ลาว เรียกว่า “แม่น้ำของ”
เมื่อนั้นราชาท้าว ทั้งสองพญานาค
ก็จิงพรากทั้งนั่น เถิงห้องแห่งตน
พาเอาพลไพร่ หนีจากหนองแส
ตามคำพระ วิสุกรรมเมืองฟ้า
อันว่าราชาท้าว สุทโธนาคราช
พรากถิ่นตั้ง เดิมดั้นดุ่มหนี
พากันชีดินหญ้า ภูผาขุดก่น
ขบคาบไม้ ไปทิ้งผีกทาง
หางก่วยเปื้อง ฟาดผ่าภูผา
ก็จิงเป็นคุงคา “แม่ของ” เขาเอิ้น
การแข่งขันสร้างแม่น้ำในครั้งนั้นปรากฏว่าพญานาคราชศรีสุทโธสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อน ปรากฏเป็นแม่น้ำสายยาวไหลจากเทือกเขาหิมาลัย ฝั่งที่ราบสูงทิเบตทะลงถึงมหาสมุทร มีความยาวประมาณ 4,880 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จก่อนพญาแถนจึงมอบปลาบึกให้เป็นรางวัล ด้วยเหตุนี้ทำให้มีปลาบึกอยู่ในแม่น้ำโขง
ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุด มีสถิติน้ำหนักสูงถึง 1,100 กิโลกรัม (นักสำรวจฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่าจับได้เมื่อ พ.ศ. 2428 ) และมีความเชื่อว่า ปลาบึกนี้มีเฉพาะในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น (ปัจจุบันก็ยังเป็นอย่างนั้น เว้นแต่มีการนำไปเพาะเลี้ยง)
มีการบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขงและน้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้ ถ้าหากผสมใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที และยังมีความเชื่อว่า หากสร้างสรรค์งานศิลปะทีริมฝังแม่น้ำน่าน จะได้งานที่มีความเป็นอมตะ ด้วยพลังหนุนช่วยจากพญานาคสุวรรณนาโค ที่อยู่เมืองบาดาลใต้แม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ตลอดลุ่มน้ำน่านจึงมีงานศิลปะที่วิจิตรสวยงามของศิลปินทั้งหลายมากมาย
ภายหลังสร้างแม่น้ำโขงเสร็จ พญานาคราชศรีสุทโธได้อ้อนวอนขอต่อพญาแถนว่า ในภายภาคหน้า เมื่อมีผู้มีบุญมาเกิดในโลกมนุษย์ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้พวกตนและบริวารได้ขึ้นมายังโลกบ้างครั้งคราวขอให้ได้เข้าถึงและรับฟังคำสั่งสอนในจอมศาสดาพุทธศาสนา และจากพระอริยสงฆ์ ผู้สืบสานศาสนาของพระพุทธเจ้าด้วยเถิด และพญาแถนก็อนุญาต
ดั้งนั้นจึงปรากฏว่า ในพื้นที่ภาคอีสานและดินแดน สปป.ลาว ปัจจุบันมีสถานที่ที่เชื่อกันว่าเป็นแปวนาค อยู่หลายแห่ง เช่น ที่พระธาตุหลวงเวียงจันทนที่หนองคันแท (นครหลวงเมืองจันทน์) และที่คำชะโนด จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
“แปวนาค” ที่คำชะโนดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ มีความพิเศษกว่าที่อื่นๆเพราะนอกจากที่คำชะโนดจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พรหมเทวดาเคยลงมากินง้วนดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นบรรพชนของมนุษย์ (ผู้ให้กำนิดมนุษย์) ซึ้งคือ ปู่สังกะสา ย่าสังกะสีแล้ว พญาแถนยังได้ให้พญานาคศรีสุทโธไปตั้งบ้านเมืองบาดาลเผาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คำชะโนดนั้น เมืองบาดาลของพญานาคราชศรีสุทโธมีชื่อว่า “วังนาคินทร์คำชะโนด” หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “เมืองคำชะโนด”
เหนือวังนาคินทร์คำชะโนดมีต้นชะโนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ อยากรู้ลักษณะต้นชะโนดให้เอาลักษณะต้นมะพร้าว ต้นหมากและต้นตาล มาผสมอย่างละเท่าๆกัน และให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาล
โดยพญานาคราชศรีสุทโธมีเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างคำชะโนด ผ่านหนองหานที่สกลนครไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงแถบองค์พระธาตุพนม
มีเรื่องเล่าว่า บางเวลาพญานาคราชศรีสุทโธจะมีการแปลงกายเป็นมนุษย์เรียกชื่อว่า “เจ้าพ่อศรีสุทโธ”
กลุ่มคนในตระกูลไท-ลาว ทั้งในประเทศไทย และสปป.ลาว เวียดนาม พม่า ในเขตอัสสัมของประเทศอินเดียในมณฑลยูนนานและมณฑลกว่างซีของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ล้วนมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ซึ่งพญานาคตามลักษณะความเชื่อในประเทศไทยและสปป.ลวา คือพญานาคมีลักษณะเป็นงูตัวใหญ่ มีหงอนสีทอง ตาสีแดง เกล็ดมีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมีทั้งสีเขียว สีดำ และเกล็ดเจ็ดสีเหมือนสีของรุ้ง นอกจากนี้ นาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว ส่วนตระกูลที่สูงขึ้นไปจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียร และเก้าเศียร
มีความเชื่อกันว่า นาคเป็นสัตว์ครึ่งเทพที่มีความมหัศจรรย์ มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถแปลงกายได้ พญานาคมีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคนพญานาคแปลงกายเป็นคนก็ได้ พญานาคสามารถผสมพันธุ์กับสัตว์อื่นได้ ขณะเดียวกันเมื่อแปลงร่างเป็นมนุษย์แล้วก็สามารถมีเพศสัมพันธุ์กับมนุษย์โดยเมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่เชื่อว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงชาวบ้านแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีประสบการณ์เรื่องเล่าและมีพีธีกรรมเกี่ยวกับพญานาคมากมายเช่น
พีธีกรรมศักสิทธิ์สัตนาคารำลึก บูชาพญานาคในวันออกพรรษาโดยเป็นพีธีที่วัดธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ได้ตัดขึ้นเพื่อบูชาพญานาคหรือองค์สัตนาคาทั้งเจ็ด ซึ่งป็นผู้ดูแลปกปักษ์รักษาองค์พระธาตุพนม
งานไหลเรือไฟที่นครพนมและจังหวัดอื่นๆในภาคอีสานรวมทั้ง สปป.ลาว ก็ป็นอีกพีธีรรมหนึ่งที่แสดงออกถึงความศรัทธาที่มีต่อพญานาค บางแห่งมีการประดิษฐ์และประดับประดาเรือด้วยดวงไฟและใบตองเป็นรูปพญานาคไปลอยในยามค่ำคืน
ส่วนประเพณีไหลเรือไฟที่อำเภอพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นประเพณีไหลเรือไฟแบบโบราณ คือ การนำกะลามะพร้าวใส่เทียนไขด้านใน จุดไฟแล้วนำมาลอยในแม่น้ำโขงเพื่อขอขมาพระแม่คงคาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมนแม่น้ำโขง ซึ่งรวมทั้งพญานาคด้วย
ลูกไฟพญานาคหรือบั้งไฟพญานาค ก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อของผู้คนแถวลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งบั้งไฟนี้ตะเกิดขึ้นเฉพาะวันออกพรรษา จะปรากฏลูกไฟสีชมพูลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ ซึ่งสอดคล้องตามพุทธประวัติที่บันทึกไว้ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันปวารณาออกพรรษา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลาตลอดพรรษา (3 เดือน )
เมื่อทั้งสามโลกทราบข่าวกำหนดการเสด็จถึงพื้นโลก ส่วนมนุษย์ได้จัดถวายอาหารคาว หวาน และของแห้ง รวมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน ในพีธีทำบุญตักบาตรที่เรียกว่า “ตักบาตรโวโรหนะ”
ด้านพญานาคที่จำพรรษาอยุ่เมืองบาดาลก็จะร่วมกันพ่นลูกไฟถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งต่อมาเชื่อกันว่าคือ “บั้งไฟพญานาค” เพราะปีหนึ่งจะมีการพ่นลูกไฟถวายเป็นพุทธบูชาเพียงครั้งเดียว จึงทำให้มีผู้คนสนใจไปรอชมการชมบั้งไฟพญานาค ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงอย่างคับคั่ง ทั้งที่จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จะมีบั้งไฟขึ้นมากกว่าที่อื่นๆ
คนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจึงมีความเชื่อความศัทธาต่อนาคต่อๆ กันมา คือสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา เป็นผู้สร้างประกายสติปัญญา มีพลังวิเศษที่ดลบัลดาลให้มวลมนุษย์และสพรรสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายพานพบแต่ความสุข ความสำเร็จสมปรารถนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล และยังมีความเชื่ออีกว่า พญานาคในสะพานหรือบันไดสายรุ้งที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ ความเชื่อที่ว่าพญานาคกับรุ้งเป็นอันเดียวกัน ในบางกลุ่มเชื่อว่า ปรากฏการณ์ “รุ้งกินน้ำ” คือการทอดร่างของพญานาคเป็นบันไดหรือสะพานเชื่อมโลกของมนุษย์กับสวรรค์ หรือเชื่อมกับจักรวาลนั่นเอง
|
แม่น้ำน่า
|
|
แม่น้ำโขง
|
ผู้แต่ง : สุเทพ ไชยขันธุ์
ชื่อหนังสือ : นิทานพยาแถน แก่นตำนานอาเซีย
จัดพิมพ์โดย : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
โรงพิมพ์ : ไพบูลย์ ชาคริยานนท์ , จิรวรรณ พยาฆรินทรังกูร
พิมพ์ครั้งแรก : เดือนมีนาคม 2557