วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ตำนานรักอันโศกเศร้าของคนกับพญานาค



ตำนานรักอันโศกเศร้าของคนกับพญานาค : เรื่องเล่าขานของบึงโขงกลง จ. บึงกาฬ --
สมัยก่อนบริเวณที่เป็นตัวบึงโขงหลงนั้นไม่ได้เป็นพื้นน้ำ แต่เป็นพื้นดินที่ตั้งเมืองชื่อว่า "รัต พานคร" มีผู้ปกครองนครคือ พระอือลือราชา มีมเหสีชื่อนางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อ พระนางเขียวคำ (ต่อมาอภิเษกกับพระเจ้าสามพันตา) มีพระโอรสชื่อเจ้าชายฟ้าฮุ่ง ตาม ตำนานเล่าว่าเจ้าชายฟ้าฮุ่ง เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดมีความรอบรู้และมีรูปเป็นสมบัติ ต่อมาเจ้าชายฟ้าฮุ่งได้อภิเษกสมรสกับ นาครินทรานี ซึ่งเป็นพระธิดาของพระยานาคราช แห่งเมืองบาดาล ซึ่งจำแลงแปลงกายเป็นมนุษย์ การจัดงานอภิเษกสมรสได้จัดทำกันใหญ่ โตมโหฬารมากทั้งเมืองรัตพานคร และเมืองบาดาล (7 วัน 7 คืน) เพื่อให้สมกับการแต่งงานอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ และเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างพญานาคกับพระเจ้าอือลือราชา พญานาคราชได้มอบเครื่องราชกุฎภัณฑ์ซึ่งเป็นของมีค่าประจำตระกูลให้ กับพระเจ้าอือลือราชาในโอกาสนี้ด้วย พร้อมกับฝากฝังลูกสาวของตนให้เมืองรัตพานครดูแล โดยที่ไม่มีใครล่วงรู้ว่านางคือลูกของพญานาคแห่งเมืองบาดาล เจ้าชายฟ้าฮุ่งกับเจ้า หญิงนาครินทรานี อยู่กินร่วมกันมา 3 ปี ก็ไม่สามารถที่จะมีผู้สืบสายโลหิตได้ (เพราะธาตุมนุษย์กับนาคเข้ากันไม่ได้) จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสองเป็นอันมาก ซึ่ง ต่อมาทำให้เจ้าหญิงนาครินทรานีล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายของนางกลับกลายร่างเป็นนาค ตามเดิม ข่าวนี้แพร่สะพัดไปทั่วกรุงรัตพานคร แม้ต่อมาพระนางจะร่ายมนต์กลับมาเป็น มนุษย์อีกครั้งก็ตาม เมื่อทุกคนทราบความจริงว่านาครินทรานีเป็นนาคประชาชนชาวรัต พานครและพระเจ้าอือลือราชาไม่พอใจอย่างมากจึงได้แจ้งให้พระยานาคราชมารับ ลูกสาวพร้อมขับไล่นางนาครินทรานีกลับคืนสู่เมืองบาดาลโดยไม่ใยดี แม้กระทั่งการจะ ไปส่งด้วยน้ำใจก็ไม่มี ไม่เหมือนกับครั้งที่นางมาในพิธีอภิเษกสมรส พญานาคราชกริ้ว โกรธกับการกระทำของเมืองรัตพานครที่ได้กระทำต่อลูกสาวของตน แต่ด้วยความรักที่มี ต่อพระธิดาของตน จึงมารับพระธิดากลับโดยดี แต่ก่อนกลับสู่เมืองบาดาล พญา นาคราชได้ขอเครื่องราชกุฎภัณฑ์ที่เป็นเครื่องประดับยศและสมบัติที่มอบให้พระธิดา เมื่อครั้งแต่งงานคืน แต่พระเจ้าอือลือราชาไม่สามารถคืนได้ เนื่องจากได้นำไปแปรสภาพ เป็นอย่างอื่นแล้ว พญานาคราชกริ้วโกรธมากเพราะธิดาของตนถูกขับไสไล่ส่ง ก็เจ็บใจมากพอแล้ว อีกทั้งยังขอรับเครื่องราชกุฎภัณฑ์ของตนกลับเมืองบาดาลไม่ได้ พญา นาคราชแห่งบาดาลจึงได้ประกาศว่าจะกลับมาพร้อมกับไพร่พลแห่งเมืองบาดาล เพื่อถล่ม เมืองรัตพานครให้สิ้นสภาพความเป็นเมือง หลังจากพญานาคราชกลับเมืองบาดาล ตกใน คืนวันเดียวกันนั้นไพร่พลแห่งพญานาคราช ได้ยกมาถล่มเมืองรัตพานครจนราบคาบ เป็นหน้ากลอง ไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์ของนาคได้ จนพื้นดินที่เคยเป็นเมืองรัตพานครในอดีต กลายเป็นผืนน้ำอันเวิ้งว้าง รัตพานครล่มถล่มลง ผู้คนแห่งเมืองล้วนล้มตายเพราะ ความโกรธของพญานาคราช ที่เกิดจากชาวรัตพานครกระทำต่อพระธิดาของตน เนื่องจาก นางนาครินทรานีไม่ทราบว่าพระบิดาจะมาถล่มเมืองรัตพานคร แต่พอทราบภายหลังก็ขึ้น มาตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่ง นางออกตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่งทั่วบึงของหลง ถึงแม่น้ำสงครามแต่ ก็ไม่พบจึงได้กลับเมืองบาดาล เมืองรัตพานครถูกถล่มจนกลายเป็นบึงของหลง และได้กลายมาเป็น “บึงโขงหลง” ในปัจจุบัน จากพื้นดินอันเป็นที่ตั้งของรัตพานคร กลายเป็น เวิ้งน้ำ แต่ในช่วงที่ไพร่พลพญานาคเข้าทำลายเมืองนั้นยังมีวัดที่ตั้งอยู่ในรัตพานครที่ พญานาคราชและไพร่พลไม่ทำลาย เหลือไว้เป็นที่สักการะของผู้คนที่จะมาพบเห็นในกาลต่อไป ซึ่งในกาลต่อมาวัดเหล่านั้นได้เสื่อมสภาพลง กลายเป็นเกาะและป่าขนาดเล็กที่มิได้จม หรือถูกทำลายให้กลายเป็นพื้นน้ำ วัดเหล่านั้นจึงปรากฏเป็นชื่อดอนหรือเกาะ ต่าง ๆในบึงโขงหลงในปัจจุบันดังนี้ วัดแก้วฟ้า หรือวัดดอนแก้ว ปรากฏเป็นดอนแก้วใน ปัจจุบัน วัดโพธิ์สัตว์หรือวัดดอนโพธิ์ มาเป็นดอนโพธิ์ และวัดแดนสวรรค์ กลายเป็นดอนสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง และสิ่งหนึ่งที่มีชื่อปรากฏ ตามตำนานในปัจจุบันคือ เส้นทางที่พระธิดานาครินทรานีตามหาเจ้าชายฟ้าฮุ่งในเมืองรัตพานครไม่เจอ จึงออกตามหาต่อจากบึงโขงหลง ต่อไปยังน้ำสงคราม เส้นทางดังกล่าว กลายเป็นน้ำเมาที่เชื่อมต่อบึงโขงหลง และน้ำสงคราม ส่วนคำว่าน้ำเมา หรือห้วยน้ำเมา นั่นเป็นเพราะเกิดจากความลุ่มหลงในรักของพระธิดาของพญานาคที่มีต่อเจ้าชายฟ้าฮุ่ง ซึ่งตกอยู่ในอาการที่เรียกว่า มัวเมาในความรักจึงเป็นเส้นทางแม่น้ำที่เรียกว่าน้ำเมา
หมายเหตุ บึงโขงหลงเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เกิดตามธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 11 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันประชาชนรอบ พื้นที่บึงโขงหลงได้ใช้แหล่งน้ำแห่งนี้ ประกอบอาชีพด้านประมง กสิกรรม เกษตรกรรม

ตำนานความรักพญานาค กับ มนุษย์


สำหรับเรื่องราวความรักแท้ที่ปรากฏเป็นตำนานตามสถานที่ท่องเที่ยวในบ้านเรามีอยู่ไม่น้อย กลายเป็นตำนานรักอมตะเคียงคู่สถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆให้อนุชนคนรุ่นหลังได้รำลึกถึงกัน   บทความนี้จึงหยิบยกสถานที่ท่องเที่ยวกับตำนานรักอันโดดเด่นระหว่าง พญานาคกับคน ขึ้นมารับเดือนแห่งความรัก ที่มีทั้งวาเลนไทน์” กับวันแห่งความรักในแบบตะวันตก และมาฆบูชา” กับวันแห่งความรักในทางพระพุทธศาสนา
ตำนานรักระหว่างพญานาคกับคน ที่    หนองหาน : ตำนานรัก“ผาแดง-นางไอ่”
หนองหาน หนองน้ำกว้างใหญ่ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และมีพื้นที่กว้างไกลสุดสายตากว่า 22,500 ไร่ ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญที่อุดมสมบูรณ์สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย และถ้ามาเที่ยวในช่วงเดือนตุลาคม- มีนาคม คุณจะได้เห็นบัวแดงน้อยใหญ่ออกดอกบานสะพรั่งละลานตาสวยงามไปทั่วเวิ้งน้ำ แต่ความงดงามของทะเลบัวแดงแห่งนี้ ใต้ผืนน้ำยังมีตำนานพื้นบ้านที่เล่าขานถึงเรื่องราวความรักระหว่างหนึ่งหญิงสองชาย มีหนองหาน เป็นฉากหนึ่งในตำนานเรื่องนี้
ในตำนานกล่าวไว้ว่า มีเมืองๆ หนึ่ง ชื่อว่า นครเอกชะทีตา” มี พระยาขอม” เป็นผู้ปกครองดูแล และมีพระธิดาสาวสวยนามว่า นางไอ่คำ” ความงามของนางเป็นที่เลืองลือไปทั่ว เป็นที่หมายปองของบรรดาเจ้าชายเมืองต่างๆ ด้าน ท้าวผาแดง” โอรสเจ้าเมืองผาโพงได้ยินข่าวลือ ก็เกิดความหลงใหลใฝ่ฝันในตัวนางเป็นอันมาก จึงวางแผนทอดสัมพันธไมตรี ทันทีที่ทั้งสองได้พบกันก็เกิดเป็นความรักขึ้นจากบุพเพสันนิวาสในชาติปางก่อน
ฝ่าย ท้าวพังคี” โอรสของ สุทโธนาค” เจ้าผู้ครองเมืองบาดาล ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ใฝ่ฝันอยากเห็นความงามของนางไอ่ ด้วยทั้งสองมีความผูกพันเป็นสามีภรรยากันแต่ชาติปางก่อน
เมื่อนางไอ่เติบโตเป็นสาว พระยาขอมผู้เป็นบิดาได้มีประกาศแจ้งข่าวไปตามหัวเมืองน้อยใหญ่ให้จัดบั้งไฟมาจุดแข่งขันกันเพื่อบูชาพระยาแถนให้บันดาลฝนตกลงมาตามฤดูกาล และหากบั้งไฟของผู้ใดขึ้นสูงกว่า คนๆ นั้นจะได้แต่งงานกับนางไอ่ มีผู้คนทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลมาร่วมงานกันอย่างคึกคัก ครั้งนี้ท้าวผาแดงได้นำบั้งไฟมาร่วมด้วย
ฝ่ายท้าวพังคีโอรสเจ้าเมืองบาดาล รู้ข่าวอยากมาร่วมงานที่เมืองมนุษย์ด้วย และบิดาห้ามอย่างไรก็ไม่ฟัง ก่อนเดินทางมาถึงเมืองเอกชะทีตา ท้าวพังคีสั่งให้บริวารแปลงร่างเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บางส่วน ส่วนตนเองแปลงร่างเป็นกระรอกเผือก’ ออกติดตามชมความงามของนางไอ่ในขบวนแห่ของเจ้าเมืองไปอย่างหลงใหล
การแข่งขันบั้งไฟเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ซึ่งการแข่งขันบั้งไฟครั้งนั้น ท้าวผาแดงกับพระยาขอมมีการพนันกันว่า ถ้าบั้งไฟของท้าวผาแดงชนะ พระยาขอมจะยกนางไอ่ให้เป็นคู่ครอง ผลการแข่งขันปรากฏว่าบั้งไฟของพระยาขอมและท้าวผาแดงต่างไม่ขึ้นด้วยกันทั้งคู่ คงมีแต่บั้งไฟของพระยาแดดเมืองฟ้าแดดสูงยาง และของพระยาเชียงเหียนเท่านั้นที่ขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นเวลานานถึงสามวันสามคืน แต่พระยาทั้งสองเป็นอาของนางไอ่ การแข่งขันเพื่อได้นางไอ่เป็นรางวัลจึงต้องล้มเลิกไป
เมื่องานบุญบั้งไฟเสร็จสิ้นแล้ว ท้าวผาแดงและท้าวพังคีต่างฝ่ายต่างกลับบ้านเมืองของตน ในที่สุดท้าวพังคีทนอยู่ในเมืองบาดาลไม่ได้ เพราะหลงใหลในความงามของนางไอ่จึงพาบริวารกลับมายังเมืองมนุษย์อีกโดยแปลงร่างเป็นกระรอกเผือกอีกครั้งและแขวนกระดิ่งทองไว่ที่คอไว้ เมื่อกระโดดไปเกาะอยู่บนกิ่งไม้ใกล้หน้าต่างห้องนอนของนางไอ่ กระดิ่งทองมีเสียงดังกังวาลขึ้น นางไอ่ได้ยินเสียงก็เกิดความสงสัยเปิดหน้าต่างออกไปเห็นกระรอกเผือกและเกิดอยากได้ นางจึงสั่งให้นายพรานฝีมือดีตามจับกระรอกเผือกตัวนั้นให้ได้ ไม่ว่าจะจับเป็นหรือจับตาย นายพรานออกติดตามกระรอกเผือกตามไปติดๆ แต่ยังจับไม่ได้สักที จึงไล่ตามไปเรื่อยๆ จนมาถึงต้นมะเดื่อที่มีผลสุกเต็มต้น กระรอกเผือกก้มหน้าก้มตากินผลมะเดื่อด้วยความหิว และด้วยกรรมในชาติปางก่อน ในที่สุดพรานจึงได้โอกาสยิ่งกระรอกด้วยหน้าไม้ซึ่งมีลูกดอกอาบยาพิษ
เวลานั้นท้าวพังคีในร่างของกระรอกเผือกรู้ตัวว่าตนเองต้องตายแน่ๆ จึงสั่งให้บริวารนำความไปแจ้งให้บิดาทราบก่อนตาย และตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้เนื้อของตนมีมากมายถึงแปดพันเล่มเกวียนพอเลี้ยงคทั้งเมืองได้ทั่วถึง เมื่อกระรอกเผือกสิ้นใจตาย นายพรานได้ชำแหละเนื้อกระรอกไปให้ผู้คนในหมู่บ้านใกล้เคียงกินโดยทั่วกัน เมื่อบริวารไปบอกสุทโธนาค เจ้าผู้ครองเมืองบาดาล ก็ทรงโกรธแค้นมาก จึ่งสั่งบาวไพร่จัดพลขึ้นไปอาละวาดเมืองพระยาขอมให้ถล่มทลายด้วยความแค้น ใครที่กินเนื้อกระรอกให้ฆ่าเสียให้หมด ขณะที่พญานาคออกอาละวาดทำลายบ้านเมืองอยู่นั้น ท้าวผาแดงกำลังขี่ม้า “บักสาม” มุ่งหน้าไปหานางไอ่ ระหว่างทางเห็นพญานาคเต็มไปหมด และเล่าเรื่องที่พบเห็นให้นางไอ่ฟัง แต่นางไม่สนใจและนำอาหารที่มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษมาให้ผาแดงกิน ท้าวผาแดงจึงถามว่าเนื้ออะไร นางตอบว่า เป็นเนื้อกระรอกเผือก ผาแดงจึงไม่ยอมกิน
พอตกกลางคืนเหตุการณ์ที่ใครๆ ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น จู่ๆ แผ่นดินเมืองเอกชะทีตาก็ถล่มทลายลงเป็นหนองหาน ซึ่งเป็นต้นน้ำปาวในปัจจุบัน ท้าวผาแดงทราบได้ทันทีว่าเป็นการกระทำของพวกพญานาคจึงคว้าแขนนางไอ่ขึ้นหลังม้าบักสามควบหนีออกจากเมืองเพื่อให้ปลอดภัย แต่เนื่องจากนางไอ่กินเนื้อกระรอกเผือกเข้าไป แม้จะหนีไปทางไหนก็ถูกพวกพญานาคติดตามไม่ลดละในที่สุดนางไอ่ก็ถูกพญานาคใช้หางฟาดตกจากหลังม้าและจมหายไปในพื้นดินทันที
เมื่อนางไอ่จมดินไปต่อหน้าต่อตา ท้าวผาแดงกลับถึงเมืองผาโพง เกิดตรอมใจคิดถึงนางไอ่ตลอดเวลา จนล้มป่วยตรอมใจตายตามนางไอ่ เมื่อท้าวผาแดงตายไปเป็นผี มีความอาฆาตพยาบาทต่อพญานาคอยู่ไม่วาย ครั้นมีโอกาสเหมาะ ผีท้าวผาแดงได้บริวารกองทัพผีเป็นแสนๆ ไปรบกับพญานาคให้หายแค้น โดยล้อมเมืองบาดาลไว้รอบด้าน ผีท้าวผาแดงและสุทโธนาคเจ้าเมืองบาดาล ต่างฝ่ายต่างใช้อิทธิฤทธิ์รบกันนานถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนไม่มีใครแพ้ชนะ ฝ่ายเจ้าเมืองบาดาล ซึ่งแก่ชรามากแล้วไม่อยากทำบาปทำกรรมต่อไป เพราะต้องการไปเกิดในภพของพระศรีอาริยเมตไตรย จึงไปขอร้อง ท้าวเวสสุวัณ” ผู้เป็นใหญ่ให้มาตัดสินให้ ท้าวเวสสุวัณทราบว่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องของกรรมเก่า จึงขอให้ทั้งสองฝ่ายเลิกราต่อกัน อโหสิกรรมให้กัน เมื่อผีท้าวผาแดงและพญานาคได้ฟังคำสั่งสอนของท้าวเวสสุวัณก็เข้าใจ เหตุการณ์ทั้งหมดจึงยุติลงนับแต่นั้น

แหล่งที่มา  http://www.triptravelgang.com/travel-thailand/8865/

ตำนานพญานาค สร้างแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน

มีเรื่องเล่าท้องถิ่นของประชาชนสองฝั่งแม่น้ำโขง    ทั้งที่ สปป.ลาว และภาคอีสารของไทย ว่าด้วยกำเนิดแม่น้ำโขงและแม่น้ำนาน  รวมไปถึงแปว (ปลายหรือต้นรู้) ของพญานาคที่มีมาช้านาน  โดยตำนานนี้เป็นส่วยหนึ่งใน  “ตำนานผาแดง นางไอ่”  ซึ่งตัวละครหลัก  นอกจากท้าวผาแดง  แห่งเมืองผางโผง และนางไอ่ แห่งเมืองเอกชะธีตา (หนองหาน) แล้วยังมี “ท้าวพังคี” บุตรชายพญานาคผู้ครองเมืองบาดาลแห่งแม่น้ำโขง ท้าวพังคีผู้แปลงร่างเป็นกระรอกเผือก  ซึ่งชาวลาวและชาวอีสานของไทยเรียกกันว่า “กะฮอกด่อน” เพื่อจะได้ยลศิริโฉมของนางไอ่คำทั้งนี้ในตำนานผาแดง  นางไอ่ได้กล่าวบรรพชนของนาคชื่อ”ท้าวพังคี” ก่อนที่จะมายู่ในแม่น้ำโขง บรรพชนเคยยู่เมืองหนองแสมาก่อนโดยในตำนานกล่าวไว้ว่า
          บริเวณเมืองหนองแสหรือเมืองหนองกระแสแสนย่าน  ก่อนที่จะมีกลุ่มคนตระกูลไท-ลาวมาตั้งเป็นเมืองนั้น เคยเป็นอานาจักรของพญานาคมาก่อน  พญานาคได้สร้างบ้านเมืองอยู่ในทะเลสาบที่หนองกระแสแสนย่าน  อันเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีคาวมกว้างใหญ่ไพรศาลหลายกีโลเมตรและยาวถึง40 กิโลเมตร  มีผู้สันนิษฐานว่าหนองกระแสแสนย่านนี้คือทะเลสาบเอ่อไห่ ในมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน
            บริเวณดังกล่าวมีพญานาคสองสหายแบ่งกันปกครอง “พญานาคราชศรีสุทโธ” ปกครองครึ่งหนึ่ง และ “พญานาคสุวรรณโค” ปกครองอีกครึ่งหนึ่งมีบริวารฝ่ายละ 5,000 ตนเท่ากัน
             พญานาคทั้งสองฝ่ายอยู่ด้วยกันด้วยความรัก  ความสามัคคี  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  มีอาหารการกินก็เอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   เป็นเพื่อนตายเป็นสหายฮักแพง กันตลอดมา  สองสหายมีสัญญาใจร่วมกันข้อหนึ่งว่า  ถ้าฝ่ายใดออกไปล่าเนื้อหาอาหาร  อีกฝ่ายตั้งอยู่รักษาบ้านเมือง เพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่งเกิดการรบราขึ้นได้ โดบฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารจะนำอาหารที่หาได้มาแบงกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำเช่นนี้ทำให้พญานาคทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขเรื่อยมา
                               บัดนี้จักกล่าวก้ำ                    นาคใหญ่สองพญา
                       พากันครองหนองแส                    นั่งปองเป็นเจ้า
                       ชื่อว่าสุทโธเถ้า                              พระยาหลวงนาคราช

                       อำนาจกว้าง                                   ถนอมตุ้มไพร่พล
                            ตนหนึ่งเฮียกชื่อชั้น                      สุวรรณนานามกษัตริย์
                             สองก็ไดเป็นสหายฮัก                  ขอดกันทันขัน
                             สองก็พากันสร้าง                         หนองแสแสนย่าน
                            ปันเคิ่งให้                                      เสมอเท่าท่อกัน
          อยู่มาวันหนึ่ง  พญานาคราชศรีสุทโธผู้มีนิสัยใจร้อน  หุนหัน  บุ่มบ่าม  แต่กล้าหาญ  เป็นฝ่ายออกไปหาอาหาร  ด้วยความกล้าหาญ  กล้าคิดกล้าตัดสินใจ  และเชื่อมั่นในตัวเองเต็มเปี่ยม  จึงสามารถล้มช้างได้หนึ่งตัว เมื่อล้มช้างได้ก็จัดแบ่งเนื้อช้างไปให้พญานาคสุวรรณนาโคครึ่งตัว พร้อมกับนำขนช้างไปให้ดูเป็นหลักฐาน พญานาคพร้อมทั้งบริวารทั้งสองฝ่ายได้กินเนื้อช้างอย่างอิ่มหมีพีมัน
            ฝ่ายพญานาคสุวรรณนาโคผู้มีนิสัยคิดละเอียดถี่ถ้วน  อ่อนโยนเยือกเย็นเมื่อได้กินเนื้อช้างที่สหายมอมให้ก็รู้สึกอิ่มเอมและคาดหวังว่าตนเองจะสามารถหาอาหารที่มีจำนวนมากที่มีคุณค่าเท่าเทียมกับเนื้อช้างมามอบให้สหายได้เช่นกัน
             ถึงคราวที่พญานาคสุวรรณนาโคและบริวารเป็นฝ่ายออกไปล่าเนื้อหาอาหาร อาจจะเป็นเพราะว่าพญานาคสุวรรณนาโคไม่เด็ดเดียว ไม่กล้าตัดสินใจจึงล่าเพียงเม่นตัวเล็กๆตัวเดียว เมื่อกับมาถึงก็ได้แบ่งเนื้อเม่นให้พญานาคราชศรีสุทโธครึ่งหนึ่งตามสัญญาใจที่มีให้กัน พร้อมทั้งนำขนเม่นไปให้ดูเป็นหลักฐาน เนื่องจากเม่นตัวนิดเดียว เมื่อแบ่งครึ่ง พญานาคราชศรีสุทโธจึงได้รับเนื้อเม่นเพียงเล็กน้อย
              พญานาคราชศรีสุทโธไม่เคยเห็นตัวเม่นมาก่อน เมื่อเปรียบเทียบขนเม่นกับขนช้างเห็นว่า ขนช้างเส้นนิดเดียวตัวยังใหญ่ขนาดนี้ แล้วขนเม่นใหญ่ขนาดนี้ ตัวจะใหญ่ขนาดไหน ถึงอย่างไร ตัวเม่นก็ต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน เมื่อคิดเช่นนั้นก็เอะใจว่า “สหายดีกับเราจริงหรือ ดูสิเราเคยแบ่งช้างให้ครึ่งตัว เนื้อมากกองเท่าภูเขาเลากา แต่ทำไม่สหายแบ่งเนื้อเม่นให้เรานิดเดียว”  จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับไปคืนพญานาคสุวรรณนาโคพร้อมกับฝากบอกว่า  “เราไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรม จากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์”
               ฝ่ายพญานาคสุวรรณนาโค  เมื่อได้ยินดังนั้นจึงรีบเดินทางไปพบพญานาคราชศรีสุทโธเพื่อชี้แจงให้ทราบว่า  ขนเม่นแม้นจะใหญ่โตแต่ตัวมันเล็กนิดเดียว  และเนื้อเม่นนี้เป็นเนื้อที่กินอร่อยกว่าเนื้อสัตว์ใดๆ  ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเถิด  พญานาคสุวรรณนาโคพูดเท่าไร  พญานาคราชศรีสุทโธ  ซึ่งมีความโกรธตั้งแต่เห็นเนื้อเม่นเป็นทุนเดิม สั่งให้บริวารไพร่พลทหารรุกรบทันที
             แรกๆพญาสุวรรณนาโคเพียงแค่ป้องกันไม่ให้เจ็บตัว  แต่เพื่อนไม่ยอมเลิกรา  ในที่สุดทั้งสองก็ต้องสู้รบกันยาวนานนับได้เวลา 7  ปี  7  เดือน  กับอีก 7  วัน จนหนองกระแสแสนย่านขุ่นข้นเป็นเลนตม  สร้างความเดือดร้อนให้เหล่าสรรพสัตว์น้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ในน้ำ  พลอยอยู่ไม่ได้หนี้ขึ้นไปตายเกลื่อนบนบกเน่าเหม็น  สัตว์บกทั้งหลายที่อาศัยหนองน้ำกระแสเป็นที่เล่นน้ำและดื่มกินก็ทุกข์ร้อน  แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้าและสิ่งมีชีวิตรอบๆ  หนองกระแสก็เดือดร้อนไปตามกัน  เมื่อการสู้รบแรงจนถึงที่สุด  ทำให้พื้นโลกสะเทือนเลื่อนลั่น  แผ่นดินไหวไปทั่ว  เทพยดาน้อยใหญ่ได้รับความเดือดร้อน  เมื่อความทุกข์ร้อนขยายวงกว้างไปทั่งทั้งย่านนั้น  จนต้องพากันขึ้งไปบนเมืองฟ้านำคาวมเดือดร้อนไปฟ้องพญาแถน
              เมื่อพญาแถนรู้เรื่องก็โกรธว่า  นี่อะไรกัน  แถนสร้างโลกให้เป็นที่อยู่อาศัยร่มเย็นของมนุษย์และสรรพสัตว์  หนองกระแสเป็นที่อยู่อาศัยพึ่งพากันของสัตวับหมื่นนับแสน  แล้วไยสูพญานาคสองตนซึ่งเป็นสหายฮักแพงกันแท้ๆ  จะมาทะเลาะกันเพียงเรื่องขี่หมูราขี้หมาแห้ง  ทำให้ใครต่อใครเดือร้อนไปทั่ว  พญาแถนหาวิธีการเกลี้ยกล่อมให้พญานาคทั้งสองตนหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของโลกมนุษย์  ว่าแล้วพญาแถนก็ตรัสเป็นเทวราชโองการว่า “ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้  การทำสงครามกันครั้งนี้ถือว่าเสมอกัน  และให้หนองกระแสแสนย่านเป็นเขตปลอดสงคราม”  พร้อมทั้งสั่งว่า “แต่นี้ต่อไปให่สูสองตนไปหาที่อยู่ใหม่  อย่าได้มาอยู่ร่วมกันกับสรรพสัตว์บนผืนโลก  ให้ย้ายลงใต้  ไปขุดที่อยู่เอาเองใต้บาดาล  อย่าได่โผล่หน้าขึ้นมาพื้นดินอีกเลย”
                พญาแถนได้ให้ข้อคิดเพื่อเตือนสติและให้พรพญานาคทั้งสองตนพร้อมบริวารว่า….
                “สูเจ้าทั้งสองตน  พร้อมบริวารล้วนแต่มีความรู้ความสามารถ  มีคุณค่าอยู่ในตนเอง  ความรู้  ความส่ามารถ และเรื่องราวจากประสบการณ์ที่พวกสูเจ้ามีล้วนมีความสำคัญและมีคุณค่ามากนัก  หากสูเจ้าไม่เห็นคุณค่าแล้วใครละจะเห็น
                  “สูเจ้าเกิดมาในโลกนี้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ให้กับโลก  ทางที่ดีที่สุดคือพวกสูเจ้าจงมีความเพียรในการใช้ความรู้ความสามารถประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายให้ประสบความสำเร็จ  สูเจ้าจงทำงานแบบสร้างตำนาน  ทำชีวิตให้มีคุณค่า  มีความหมายและมีความสุข  ค้นหาสิ่งที่สูเจ้ารัก  รักในงานที่ทำและมีความสุขในทุกขณะลงมือทำ  ให้ทุกขณะเป็นประโยชน์ทั้งต่อภายนอกคือผู้อื่นและต่อภายในคือใจของสูเจ้าเอง
                  “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปข้าขอให้พญานาคและบริวารทั้งหลายเป็นตัวแทนของความเพียรอันยิ่งใหญ่   มีความอุดมสมบูรณ์  มีวาสนา  เป็นผู้สร้างประกายแห่งสติปัญญาด้วยการมีพลังวิเศษที่สามารถดลบันดาลให้มวลมนุษย์และสรรพสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายพานพบแต่ความสงบสุข  ความเจริญรุ่งเรือง  และความสำเร็จสมปรารถนาในทุกประการ  รวมทั้งให้เพียรทำตนเป็นดั่งสะพานหรือบันไดสายรุ่งเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์”
                     ประกาศิตของพญาแถนได้ลั่นไปแล้วว่า  พญานาคราชศรีสุทโธและพญานาคสุวรรณนาโคต้องไปหาที่สร้างบ้านเมืองใหม่  และต้องเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นพญานาคตนใหม่ที่มีพลังวิเศษในตน
                     เมื่อนั้นราชาท้าวทั้งสองพระยานาคก็จำต้องพาไพร่พลออกจากหนองกระแสตามบัญชาเทพแมนเมืองฟ้า'
                     พญาแถนลงโทษให้พญานาคทั้งสองต้องสร้างแม่น้ำจากหนองกระแสออกไปถึงทะเลคนละสาย  และเมื่อสร้างเสร็จให้แต่ละตนอาศัยอยู่เมืองบาดาลในแม่น้ำที่สร้างขึ้นนั้น
                      แต่พญาแถนก็ยังมีถ้อยคำอันเมตตาและให้ทั้งสองฝ่ายมีความฮึกเหิมว่า”ถ้าผู้ใดขุดรูไปถึงมหานทีทะเลกว้างก่อน จะมีรางวัลในการให้มีปลาบึกอยู่อาศัยในลำน้ำที่สร้างเสร็จก่อน”
                      พญานาคทั้งสองรับฟังบัญชาซึ่งเปรียบเสมือนคำสาปจบ  ก็พาไพร่พลออกจากหนองกระแสตามบัญชาเทพแมนเมืองฟ้า  เร่งหาพื้นที่เจาะไชผืนแผ่นดินให้เป็นร่องเป็นรูลดเลี้ยวเคี้ยวคด
                       พญานาคสุวรรณนาโคพาบริวารไพร่พลออกจากหนองกระแส  สร้างแม่น้ำมุ้งไปทางทิศใต้ของหนองกระแส  ด้วยพญานาคสุวรรณนาโคเป็นคนซื่อตรงทำสิ่งใดก็ละเมียดละไมพิถีพิถัน  และเป็นผู้มีใจเย็น  การสร้างแม่น้ำจึงต้องทำให้ตรงและคิดว่าการทำแม่น้ำแบบตรงๆจะทำถึงจุดหมายปลายทางก่อน  ตนจะได้เป็นผู้ชนะ  พญานาคผู้ละเมียดละไมพิถีพิถันจึงดั่งแผ่นดินจนเป็นร่องน้ำเจอหินขวางก็เข็นออก  จนเกินเป็นแม่น้ำกว้างใส  ตกแต่งฝั่งแม่น้ำจนงดงามแต่เพราะมั่วตกแต่งสองฝั่งแม่น้ำจึงยังไม่ได้เชื่อมแม่น้ำที่ตนสร้างกันหนองกระแสแสนย่าน
                        แม่น้ำที่พญานาคสุวรรณนาโคสร้างนี้  ต่อมาเรียกว่า  “แม่น้ำน่าน”
                                        ท้าวกะพาพลสร้าง                  บ่มีหินแก้งหาด
                                  บ่ได้เป็นดาดเวิ้ง                             หินแก้งแก่งเสมอ
ท้าวก็ทำเพียรสร้าง                          หลายวันลำบาก
                                             สุวรรณนาเจ้า                                   ทำช้าบ่ทัน
     ก็จิงเสียชัยท้าว                                   สุทโธพระยาใหญ่
   ปลาบึงขึ้นบ่ได้                                 พลอยซ้าซอดลุน
ก็บ่ปูนปานท้าว                                 สุทโธมหราช
หินหาดแก้ง                                        ยามแล้งบ่มี
                                              สุวรรณนาคเจ้า                                    คิดถี่ไปดี
แปงนทียาวเลิก                                    บ่มีหินแก้ง
   ท้าวกะปูนแปงสร้าง                             คงคายาวย่าน
    เฮียกว่าน้ำน่านกว้าง                              เดี๋ยวนี้  สืบมา
                        “แม่น้ำน่าน”  จึงเป็นแม่น้ำที่มีความตรงกว่าแม่น้ำทุกสายในภูมิภาคนี้  และเป็นแม่น้ำที่มีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง
                          ส่วนพญานาคราชศรีสุทโธได้พาบริวารไพร่พลอพยพออกจากหนองกนะแสไปสร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส  ตรงไหนเป็นภูเขาก็คดโค้งไปตามภูเขา  หรืออาจจะลอดภูเขาบ้าง  เพราะอุปนิสัยใจร้อนบุ่มบ่าม  ทำสิ่งใดรวดเร็วปุบปับ  คำนึงถึงเป้าหมายปลายทางเป็นหลัก  เร่งคิดเร่งทำ  เจอหน้าผาหินขวางก็หลบเลี่ยงเบี่ยงไปข้างๆ  บางแห่งก็ทำพอถากๆแบบคนใจร้อน  จึงได้ลำน้ำที่โค้งคดและเต็มไปด้วยสันดอน เกาะแก่ง  หินตาดโตด  น้ำจึงถั่งหลั่งไหลรุนแรง  บางแห่งก็กว้างเป็นวังเวิ้งลึกหนัก ยากที่มนุษย์ทั่วไปจะดำลงถึงพื้นดินได้ แม่น้ำที่พญานาคราชศรีสุทโธสร้างนี้  ต่อมาเรียกว่า “แม่น้ำโขง”
                            คำว่า “โขง” มาจากคำว่า “โค่ง”  ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่ง สปป.ลาว เรียกว่า “แม่น้ำของ”
                                               เมื่อนั้นราชาท้าว               ทั้งสองพญานาค
                                     ก็จิงพรากทั้งนั่น                           เถิงห้องแห่งตน
                                      พาเอาพลไพร่                                 หนีจากหนองแส
                                       ตามคำพระ                                     วิสุกรรมเมืองฟ้า
                                      อันว่าราชาท้าว                                  สุทโธนาคราช
                                      พรากถิ่นตั้ง                                       เดิมดั้นดุ่มหนี
                                      พากันชีดินหญ้า                                 ภูผาขุดก่น
                                       ขบคาบไม้                                          ไปทิ้งผีกทาง
                                       หางก่วยเปื้อง                                     ฟาดผ่าภูผา
                                      ก็จิงเป็นคุงคา                                       “แม่ของ”  เขาเอิ้น
                          การแข่งขันสร้างแม่น้ำในครั้งนั้นปรากฏว่าพญานาคราชศรีสุทโธสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อน  ปรากฏเป็นแม่น้ำสายยาวไหลจากเทือกเขาหิมาลัย  ฝั่งที่ราบสูงทิเบตทะลงถึงมหาสมุทร  มีความยาวประมาณ  4,880  กิโลเมตร  เมื่อสร้างเสร็จก่อนพญาแถนจึงมอบปลาบึกให้เป็นรางวัล  ด้วยเหตุนี้ทำให้มีปลาบึกอยู่ในแม่น้ำโขง
                          ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุด  มีสถิติน้ำหนักสูงถึง 1,100  กิโลกรัม   (นักสำรวจฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่าจับได้เมื่อ  พ..  2428 )  และมีความเชื่อว่า  ปลาบึกนี้มีเฉพาะในแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาเท่านั้น (ปัจจุบันก็ยังเป็นอย่างนั้น  เว้นแต่มีการนำไปเพาะเลี้ยง)
                          มีการบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขงและน้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้  ถ้าหากผสมใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที  ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที และยังมีความเชื่อว่า  หากสร้างสรรค์งานศิลปะทีริมฝังแม่น้ำน่าน  จะได้งานที่มีความเป็นอมตะ  ด้วยพลังหนุนช่วยจากพญานาคสุวรรณนาโค  ที่อยู่เมืองบาดาลใต้แม่น้ำน่าน  ด้วยเหตุนี้ตลอดลุ่มน้ำน่านจึงมีงานศิลปะที่วิจิตรสวยงามของศิลปินทั้งหลายมากมาย
                ภายหลังสร้างแม่น้ำโขงเสร็จ  พญานาคราชศรีสุทโธได้อ้อนวอนขอต่อพญาแถนว่า  ในภายภาคหน้า  เมื่อมีผู้มีบุญมาเกิดในโลกมนุษย์  เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ขอให้พวกตนและบริวารได้ขึ้นมายังโลกบ้างครั้งคราวขอให้ได้เข้าถึงและรับฟังคำสั่งสอนในจอมศาสดาพุทธศาสนา  และจากพระอริยสงฆ์  ผู้สืบสานศาสนาของพระพุทธเจ้าด้วยเถิด  และพญาแถนก็อนุญาต
                  ดั้งนั้นจึงปรากฏว่า  ในพื้นที่ภาคอีสานและดินแดน  สปป.ลาว  ปัจจุบันมีสถานที่ที่เชื่อกันว่าเป็นแปวนาค  อยู่หลายแห่ง เช่น ที่พระธาตุหลวงเวียงจันทนที่หนองคันแท (นครหลวงเมืองจันทน์) และที่คำชะโนด  จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
                   “แปวนาค”  ที่คำชะโนดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  มีความพิเศษกว่าที่อื่นๆเพราะนอกจากที่คำชะโนดจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่พรหมเทวดาเคยลงมากินง้วนดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นบรรพชนของมนุษย์ (ผู้ให้กำนิดมนุษย์) ซึ้งคือ ปู่สังกะสา  ย่าสังกะสีแล้ว  พญาแถนยังได้ให้พญานาคศรีสุทโธไปตั้งบ้านเมืองบาดาลเผาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คำชะโนดนั้น  เมืองบาดาลของพญานาคราชศรีสุทโธมีชื่อว่า “วังนาคินทร์คำชะโนด” หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า “เมืองคำชะโนด”
                     เหนือวังนาคินทร์คำชะโนดมีต้นชะโนดขึ้นเป็นสัญลักษณ์  อยากรู้ลักษณะต้นชะโนดให้เอาลักษณะต้นมะพร้าว  ต้นหมากและต้นตาล  มาผสมอย่างละเท่าๆกัน และให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาล
                      โดยพญานาคราชศรีสุทโธมีเส้นทางสัญจรไปมาระหว่างคำชะโนด  ผ่านหนองหานที่สกลนครไปเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขงแถบองค์พระธาตุพนม
                      มีเรื่องเล่าว่า  บางเวลาพญานาคราชศรีสุทโธจะมีการแปลงกายเป็นมนุษย์เรียกชื่อว่า “เจ้าพ่อศรีสุทโธ”
                       กลุ่มคนในตระกูลไท-ลาว ทั้งในประเทศไทย และสปป.ลาว เวียดนาม พม่า  ในเขตอัสสัมของประเทศอินเดียในมณฑลยูนนานและมณฑลกว่างซีของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ล้วนมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย  ซึ่งพญานาคตามลักษณะความเชื่อในประเทศไทยและสปป.ลวา คือพญานาคมีลักษณะเป็นงูตัวใหญ่  มีหงอนสีทอง  ตาสีแดง  เกล็ดมีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมีทั้งสีเขียว  สีดำ  และเกล็ดเจ็ดสีเหมือนสีของรุ้ง  นอกจากนี้  นาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว  ส่วนตระกูลที่สูงขึ้นไปจะมีสามเศียร  ห้าเศียร  เจ็ดเศียร และเก้าเศียร
                       มีความเชื่อกันว่า  นาคเป็นสัตว์ครึ่งเทพที่มีความมหัศจรรย์  มีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถแปลงกายได้  พญานาคมีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคนพญานาคแปลงกายเป็นคนก็ได้  พญานาคสามารถผสมพันธุ์กับสัตว์อื่นได้  ขณะเดียวกันเมื่อแปลงร่างเป็นมนุษย์แล้วก็สามารถมีเพศสัมพันธุ์กับมนุษย์โดยเมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู  เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่เชื่อว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงชาวบ้านแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีประสบการณ์เรื่องเล่าและมีพีธีกรรมเกี่ยวกับพญานาคมากมายเช่น
                   พีธีกรรมศักสิทธิ์สัตนาคารำลึก  บูชาพญานาคในวันออกพรรษาโดยเป็นพีธีที่วัดธาตุพนม อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม  ได้ตัดขึ้นเพื่อบูชาพญานาคหรือองค์สัตนาคาทั้งเจ็ด  ซึ่งป็นผู้ดูแลปกปักษ์รักษาองค์พระธาตุพนม
                    งานไหลเรือไฟที่นครพนมและจังหวัดอื่นๆในภาคอีสานรวมทั้ง สปป.ลาว  ก็ป็นอีกพีธีรรมหนึ่งที่แสดงออกถึงความศรัทธาที่มีต่อพญานาค  บางแห่งมีการประดิษฐ์และประดับประดาเรือด้วยดวงไฟและใบตองเป็นรูปพญานาคไปลอยในยามค่ำคืน
                     ส่วนประเพณีไหลเรือไฟที่อำเภอพระธาตุพนม  จังหวัดนครพนม  เป็นประเพณีไหลเรือไฟแบบโบราณ  คือ  การนำกะลามะพร้าวใส่เทียนไขด้านใน  จุดไฟแล้วนำมาลอยในแม่น้ำโขงเพื่อขอขมาพระแม่คงคาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมนแม่น้ำโขง  ซึ่งรวมทั้งพญานาคด้วย
                      ลูกไฟพญานาคหรือบั้งไฟพญานาค  ก็เป็นอีกหนึ่งความเชื่อของผู้คนแถวลุ่มแม่น้ำโขง  ซึ่งบั้งไฟนี้ตะเกิดขึ้นเฉพาะวันออกพรรษา  จะปรากฏลูกไฟสีชมพูลอยขึ้นมาบนผิวน้ำ  ซึ่งสอดคล้องตามพุทธประวัติที่บันทึกไว้  ในวันขึ้น  15 ค่ำ เดือน  11  หรือวันปวารณาออกพรรษา  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากการแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา  ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลาตลอดพรรษา (3 เดือน )
                        เมื่อทั้งสามโลกทราบข่าวกำหนดการเสด็จถึงพื้นโลก  ส่วนมนุษย์ได้จัดถวายอาหารคาว  หวาน และของแห้ง  รวมทั้งดอกไม้ ธูปเทียน ในพีธีทำบุญตักบาตรที่เรียกว่า  “ตักบาตรโวโรหนะ”
                         ด้านพญานาคที่จำพรรษาอยุ่เมืองบาดาลก็จะร่วมกันพ่นลูกไฟถวายเป็นพุทธบูชา  ซึ่งต่อมาเชื่อกันว่าคือ  “บั้งไฟพญานาค” เพราะปีหนึ่งจะมีการพ่นลูกไฟถวายเป็นพุทธบูชาเพียงครั้งเดียว  จึงทำให้มีผู้คนสนใจไปรอชมการชมบั้งไฟพญานาค  ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงอย่างคับคั่ง  ทั้งที่จังหวัดหนองคายและจังหวัดบึงกาฬ  โดยเฉพาะอำเภอโพนพิสัย  จังหวัดหนองคาย  จะมีบั้งไฟขึ้นมากกว่าที่อื่นๆ
                           คนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจึงมีความเชื่อความศัทธาต่อนาคต่อๆ  กันมา  คือสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่  ความอุดมสมบูรณ์  ความมีวาสนา  เป็นผู้สร้างประกายสติปัญญา  มีพลังวิเศษที่ดลบัลดาลให้มวลมนุษย์และสพรรสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายพานพบแต่ความสุข  ความสำเร็จสมปรารถนา  อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล  และยังมีความเชื่ออีกว่า  พญานาคในสะพานหรือบันไดสายรุ้งที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ ความเชื่อที่ว่าพญานาคกับรุ้งเป็นอันเดียวกัน  ในบางกลุ่มเชื่อว่า ปรากฏการณ์  “รุ้งกินน้ำ”  คือการทอดร่างของพญานาคเป็นบันไดหรือสะพานเชื่อมโลกของมนุษย์กับสวรรค์  หรือเชื่อมกับจักรวาลนั่นเอง

แม่น้ำน่า


แม่น้ำโขง


ผู้แต่ง : สุเทพ ไชยขันธุ์
ชื่อหนังสือ : นิทานพยาแถน แก่นตำนานอาเซีย
จัดพิมพ์โดย : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
โรงพิมพ์ : ไพบูลย์ ชาคริยานนท์ , จิรวรรณ พยาฆรินทรังกูร
พิมพ์ครั้งแรก  : เดือนมีนาคม  2557

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คลังมหาสมบัติพญานาคราช พญาศรีสุทโธ เจ้าแห่งนครบาดาล เทพผู้สร้างปาฏิหาริย์บนพื้นพิภพ

" คลังมหาสมบัติพญานาคราช พญาศรีสุทโธ เจ้าแห่งนครบาดาล เทพผู้สร้างปาฏิหาริย์บนพื้นพิภพ "

เมื่อครั้งดึกดำบรรพ์มีการกล่าวขานถึงนิทานปรัมปรา ที่ดูท่าน่าจะเป็นจริง เมื่อเราได้นึกถึง สถานที่ เหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานที่ที่เล่ากันว่าเป็นพำนักของ พญาศรีสุทโธ เจ้าแห่งนครบาลผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น หนองแส, ธาตุหลวง หนองคันแท ส.ป.ป.ลาว, พรหมประกายโลก (คำชะโนด), หนองอ้อมเกาะ (อ้อมกอ), และ ภูผาเหล็ก ซึ่งล้วนแต่เล่าขานกันว่าเป็นทางผ่าน เป็นทีประทับของ พญาศรีสุทโธ และจะมีปรากฏปาฏิหาริย์ เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้คนใกล้ชิด ตามตำนานที่เล่าขานกันมา 

มีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อก่อน "หนองกระแส" ซึ่งอยู่ทางเหนือของประเทศลาว เป็นเมืองที่พญานาราชครอบครองอยู่ โดยแบ่งหนองกระแสออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นเขตครอบครองของ "สุทโธนาค" และอีกส่วนหนึ่งเป็นเขตปกครองของ "สุวรรณนาค" ซึ่งทั้งสองมีความรักใคร่กันมากไปมาหาสู่กันเป็นประจำ 

(หนองแส หรือ "หนองกระแส" ปัจจุบันอยู่ในเขตคุนหมิง ประเทศจีน ชาวจีนเรียกใหม่ว่า "ทะเลสาปเอ๋อไห่, และ "สุวรรณนาคราช" เป็นผู้สร้างเมืองหนองหาร (สกลนคร) - ผู้จัดทำเว็บตามรอยฯ : อธิบาย) 

ต่อมาสุทโธนาคได้มีอาหารเป็นเนื้อช้าง ซึ่งมีจำนวนมากมายเต็มลำเกวียนพร้อมขนหาง ซึ่งถือว่าเป็นมงคลมอบให้ไปด้วย ซึ่งทำให้เกิดความพึงพอใจของสุวรรณนาคยิ่งนัก ครั้นต่อมาสุวรรณนาคมีอาหารเป็นเม่นซึ่งเป็นของอร่อย จึงแบ่งแล้วใช้เรียวไม้ร้อยเป็นพวง พร้อมกับขนเม่นให้เป็นของที่ระลึก ไปส่งให้สุทโธนาค 

เมื่อสุทโธนาคเห็นดังนั้นคิดว่า เนื้อช้างที่เราส่งให้ขนหางเล็กนิดเดียวยังได้เนื้อเต็มลำเกวียน นี่ขนเม่นโตขนาดนี้มีเนื้อให้พวงไม้ร้อยเดียว จึงทำให้เกิดความโกรธแค้นเป็นยิ่งนัก สุทโธนาคจึงนำไพร่พลทหารกรีฑาทัพท้ารบกับสุวรรณนาค และเกิดสงครามกันนานถึง 7 ปี ซึ่งต่างฝ่ายต้องการชัยชนะจากสงคราม และขับไล่ฝ่ายตรงข้ามออกจากหนองกระแส และจะทำการครอบครองหนองกระแสแต่ผู้เดียว 

การสู้รบของพญานาคทั้งสองทำให้พื้นพิภพสั่นสะเทือนไปทั่ว เกิดความเดือดร้อนไปจนถึงทั้งสามภพ คือ บาลดาล มนุษย์ และสวรรค์ เมื่อความทราบถึงพระอินทร์จึงได้เสด็จลงมายังมนุษยโลกเพื่อสอบสวน เมื่อทราบความแล้วจึงสั่งให้พญานาคทั้งสองเลิกสงครามหันมาแข่งขันกัน สร้างแม่น้ำออกจากหนองแส ไปจนถึงปากน้ำทะเล หากใครถึงก่อนเป็นผู้ชนะและให้ครอบครองแม่น้ำแห่งนั้น 

เมื่อรับคำบัญชาจากพระอินทร์แล้ว พญานาคราชทั้งสองจึงนำไพร่พลทำการขุดแม่น้ำออกจากหนองแสทันที สุวรรณนาคเป็นพญานาคราชที่มีความละเอียดอ่อน มีความเป็นระเบียบจึงสั่งให้ไพร่พลขุดแม่น้ำให้ตรง จึงทำให้ต้องใช้เวลานาน ในการขุดแม่น้ำและได้แม่น้ำไม่ยาวนัก 

จนทำให้แพ้ในการแข่งขัน จึงเรียกว่า “แม่น้ำนาน” และให้เป็นที่ครอบครองของสุวรรณนาคพร้อมบริวาร จึงได้ขนานนามว่า “แม่น้ำน่าน แห่งสุวรรณภูมิ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของสุวรรณนาค ซึ่งเป็นผืนแผ่นดินที่เป็นประเทศไทย ในปัจจุบันและเราได้ขนานนามแผ่นดินแห่งนี้ว่า “สุวรรณภูมิ” มาตราบเท่าทุกวันนี้

ฝ่ายสุทโธนาค เมื่อได้รับคำบัญชา จึงได้กรีฑาไพร่พลทำการขุดแม่น้ำออกจากหนองกระแสไปทางทิศตะวันออก ทันที่ เนื่องจากว่า "สุทโธนาค" เป็นพญานาคราชที่ใจร้อนและมีอิทธิฤทธิ์มาก จึงสั่งให่ไพร่พลขุดแม่น้ำเมื่อมีภูเขาขวางหน้าก็สั่งให้ไพร่พลขุดไปตามซอกหินและภูเขาอย่างรีบเร่งทำให้เกิดความคดโค้ง บางที่มีความลึกมากบางแห่งที่เป็นภูเขาก็ขุดให้กว้าง ตามซอกถ้ำและหินผา จนทะลุถึงทะเลตามคำบัญชาของพระอินทร์ก่อนสุวรรณนาค

เมื่อสำเร็จจึงนำความกราบทูลต่อพระอินทร์ เพื่อวินิจฉัย พระอินทร์จึงทรงประกาศให้สุทโธนาคเป็นฝ่ายชนะ และให้แม่น้ำนี้ชื่อว่า “แม่น้ำโค้ง” และได้แผงมาเป็น “แม่น้ำโขง” จนปัจจุบัน โดยให้สุทโธนาคพาข้าทาสบริวารและไพร่พลอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง ทรงอนุญาตให้เกิดมีปลาบึกให้เป็นสัญลักษณ์แห่งแม่น้ำ และให้เป็นผู้ครอบครองนครบาดาลแต่เพียงผู้เดียว และได้ขนานนามว่า “พญาศรีสุทโธ” โดยอนุญาตให้มีประตูขึ้นสู่โลกมนุษย์ จำนวน 3 แห่ง คือ 

ที่ตั้งเมืองนครเวียงจันทร์ และเจ้าผู้ปกครองแห่งนครเวียงจันทร์ได้ก่อสร้าง พระธาตุหลวง ปิดทางขึ้นเอาไว้ในปัจจุบันที่ "หนองคันแท" ใน ส.ป.ป.ลาว และที่พรหมประกายโลก (คำชะโนด) พรหมประกายโลก

หมายถึงที่ที่เทวดาลักลอบลงมากินดินจนทำให้หมดอิทธิ์ฤทธิ์ กลายเป็นกึ่งเทพกึ่งมนุษย์ (ภาษาพื้นบ้านโบราณเรียกว่า ผีบังบด) เป็นข้ารับใช้ให้กับพญานาคราชศรีสุทโธนาค และทรงอนุญาตให้ "พญาศรีสุทโธ" กลายร่างเป็นมนุษย์ได้ในวันข้างขึ้น 15 วัน และให้กลายร่างเป็นพญานาคราชในวันข้างแรม 15 วัน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


( คำว่า "หนองคันแท" คือสมัยนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จมาประทับที่ริมหนองนี้ ปัจจุบันคือ "พระธาตุหลวง" นั่นเอง - ผู้จัดทำเว็บตามรอยฯ : อธิบาย )



คลังมหาสมบัติพญานาคราช เส้นทางสู่คลังมหาสมบัติ


มีการเล่าขานกันมาว่า เมื่อครั้งพญานาคาราชศรีสุทโธ ได้รับบัญชาจากพระอินทร์ให้ขุดแม่น้ำแข่งขันกับสุวรรณนาค นั้น และจะประทานให้แม่น้ำที่ทำการขุดให้เป็นที่ครอบครอง เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการขุดแม่น้ำโขง และได้รับประทานุญาตให้แม่น้ำโขง เป็นที่ครอบครองแล้วพญาศรีสุทโธ เจ้าแห่งนครบาดาลจึงได้ย้ายที่ประทับในพื้นที่ครอบครองเดิมที่หนองกระแส มายังแม่น้ำโขง

เนื่องจากพญาศรีสุทโธเป็นจอมนาคาที่มี ไพร่พล ข้าทาสบริวารมาก และทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลทั้งจากหนองกระแส และนครบาดาล เพื่อเป็นเตรียมพร้อมในการทำสงครามและหาสถานที่จัดเก็บมหาสมบัติซึ่งประกอบด้วย เหล็กไหลน้ำผึ้ง แก้วเสด็จ และเพชรพญานาค 

จึงได้สั่งให้ไพร่พลทำการขุดแม่น้ำออกจากแม่น้ำโขงลงมาทางด้านทิศใต้ บริเวณ ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ในปัจจุบัน ลัดเลาะไปตามช่องเขาผ่านที่ราบและภูเขาหลายแห่งลงไปทางด้านทิศใต้ ผ่านอำเภอบ้านแพง อำเภอบึงโขงหลง อำเภอเซกา อำเภอคำตะกล้า อำเภอบ้านม่วงในช่วงนี้แม่น้ำสงครามเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสกลนครกับจังหวัดอุดรธานี 

เริ่มอำเภอบ้านม่วงและอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร กับอำเภอบ้านดุง อำเภอทุ่งฝน อำเภอหนองหานไปจดภูผาเหล็ก ที่อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายส่วนปลายของเทือกเขาภูพาน และเป็นภูเขาที่ไม่สูงมากนักและมีบริเวณกว้างและยาวมีอาณาเขตติดต่อกันระหว่าง อำเภอส่องดาว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร และอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี และเพียงพอที่จะเก็บมหาสมบัติของพญานาคราชศรีสุทโธได้ และเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสงคราม

http://i216.photobucket.com/albums/cc135/seraindia/1376333_557525234301072_1865245577_n.jpg

บัลลังก์พญานาคราชศรีสุทโธ

ในช่วงเขตของ "อำเภอบ้านดุง" เป็นส่วนที่แม่น้ำสงครามใกล้กับพรหมประกายโลก (คำชะโนด) ซึ่งเป็นประตูเมืองจากนครบาดาลมายังโลกมนุษย์มากที่สุด เชื่อกันว่าพญานาคราชศรีสุทโธได้ใช้เป็นเส้นทางในการขนย้ายมหาสมบัติขึ้นจากนครบาดาล ไปยังคลังมหาสมบัติต้นแม่น้ำสงคราม ในการเดินทางขนย้ายมหาสมบัติของพญาศรีสุทโธ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งนักในปัจจุบัน 

เมื่อปรากฏว่ามีเกาะหินทรายที่มีรอยประทับของพญาศรีสุทโธลงบนหินทรายภายในเกาะ ซึ่งมีขนาดใหญ่น้อยแตกต่างกันไป และมีน้ำไหลล้อมรอบอยู่ระหว่างเส้นทางเดินจากพรหมประกายโลก (คำชะโนด)ไปยังแม่น้ำสงคราม 

และบริเวณเกาะกลางแอ่งน้ำนี้มีสภาพที่มีบ่อน้ำผุดขึ้นจากใต้ดินรอบบริเวณเกาะ คล้ายกับบ่อน้ำที่เรียกว่าเป็นประตูเมืองของนครบาดาลที่พรหมประกายโลก (คำชะโนด) หลายบ่อรอบบริเวณเกาะ และเป็นที่น่าจะเชื่อได้ว่าเป็นอีกประตูหนึ่ง หรือหลาย ๆ ประตู ที่เป็นเส้นทางจากนครบาดาลสู่เมืองมนุษย์ 

1. บริเวณภายนอกเกาะทางด้านทิศเหนือ เป็นบ่อขนาดใหญ่ที่มีน้ำไหลออกมาตลอดปีและไหลแรงมาก ซึ่งเคยปรากกว่าน้ำจากบ่อนี้ไหลพุ่งขึ้นจากบ่อมีความสูง 2 – 3 เมตร และจะไหลลงไปยังร่องน้ำรอบเกาะ ปัจจุบันทางหมู่บ้านก่อสร้างท่อขนาดใหญ่เก็บกักน้ำและทำท่อส่งน้ำไปใช้อุปโภคบริโภคภายในหมู่บ้าน

2. บ่อน้ำทางด้านทิศตะวันออก เป็นบ่อขนาดใหญ่ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ทำการบูรณะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เมตร มีน้ำไหลออกมาตลอดปีอ้อมเกาะลงไปทางด้านทิศใต้

3. บ่อน้ำทางด้านทิศตะวันตก เป็นบ่อน้ำที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำภายนอกเกาะ มีน้ำไหลออกมาจากซอกหินภายในเกาะ ในปัจจุบันชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับบ่อน้ำที่คำชะโนด และจะนำน้ำจากบ่อน้ำแห่งนี้ไปประกอบพิธีบวงสรวงเจ้าปู่หอคำ ทุกปี

4. เป็นบ่อน้ำขนาดเล็กทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งไหลออกมาจากซอกหินภายใต้ฐานเจดีย์โบราณ และเป็นที่ตั้งของใบเสมาหิน ทางด้านทิศใต้ ซึ่งก่อนหน้านี้มีต้นตะเคียนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตรเกิดทับเอาไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อต้นตะเคียนโค่นล้มลง จึงปรากฏเห็นเป็นบ่อน้ำที่ไหลออกมาและมีใบเสมาหินทรายที่มีร่องรอยการตัดหินทรายทำเป็นใบเสมา

น้ำทั้งที่ผุดออกมาจากบ่อน้ำภายในเกาะทั้ง 4 แห่งจะไหลอ้อมเกาะลงมาทั้งทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ลงไปทางด้านทิศใต้ของเกาะและไหลลงสู่แม่น้ำสงคราม

* หมายเหตุ งานเขียนชิ้นนี้ ได้รับการคุ้มครองสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิทธิทางปัญญา โดยลิขสิทธิเป็นของผู้เขียน ที่ให้เกียรตินำเผยแพร่ผ่าน วิชาการ.คอม เรามีความยินดีและอนุญาตให้ทำซ้ำหรือเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น

กรุณาให้เกียรติผู้เขียน โดยอ้างชื่อผู้เขียนและ วิชาการ.คอม (ข้อสอบ ข่าววิทยาศาสตร์ ทุนการศึกษา บทความ บทเรียน โครงงาน นิยาย blog webboard - วิชาการ.คอม) ทุกครั้งที่ทำการเผยแพร่ต่อ ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อในสื่อที่เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจก่อนได้รับอนุญาต ขอขอบคุณที่ร่วมกันช่วยสร้างให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งปัญญา

จาก http://www.vcharkarn.com/blog/37237/7678