วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พญานาค เจ้าบาดาลราชาแห่งอสรพิษ

พญานาค
ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือ มีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง  เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี ๗ สี และที่สำคัญคือ  ตระกูลธรรมดำองค์ท่านจะมีเศียรเดียว แต่ถ้ำตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมี  ๓ เศียร ๕ เศียร ๗ เศียร และ ๙ เศียร พญานาคจำพวกนี้องค์ท่านจะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของ องค์ พระวิษณะนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร
อนันตนาคราช เล่ากันว่าองค์ท่านจะมีกายที่ใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด  มี ๑๐๐๐ เศียร ท่านเกิด ทั้งในน้ำและบนบก  เกิดจากครรภ์และจากไข่     มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ และท่านสามารถจะแปลงร่างเป็นเทพบุตรหรือเทพธิดารูปร่างสวยงาม กล่าวว่า ทางฝั่งไทยและฝั่งลาวต่างมี กษัตริย์แห่งนาคราช หรือ นาคาธิบดี แยกปกครองดูแล
ฝั่งลาว คือ พญาศรีสัตตนาคราช (นาคาธิบดีสีสัตตนาคบาดาล) เป็นกษัตริย์พญานาค   ฝั่งลาว มี ๗ เศียร ฝั่งไทย คือ พญาศรีสุทโธนาคราช (นาคาธิบดีสีสุทโธ) เป็นกษัตริย์พญานาค ฝั่งไทยมี ๑ เศียร พญาศรีสุทโธ ท่านชอบจำศีลบำเพ็ญเพียร และปฏิบัติธรรม มีนิสัยอ่อนโยน  มีเมตตา ไม่ชอบการต่อสู้ ชอบมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุพนม โดยมอบหมายให้เหล่า  อ ามาตย์ดูแลแทน ในระหว่างที่หลบมาจำศีลภาวนา
      ๑. พญาจิตรนาคราช ท่านรักสวยรักงาม มีเขตแดนปกครองของตน ตั้งแต่ตาลีฟู  ถึงจังหวัดหนองคาย ตามแนวแม่น้ำโขง โดยมีที่สุดแดนอยู่วัดหินหมากเป้ง
      ๒. พญาโสมนาคราช มีเขตแดนปกครอง ตั้งแต่วัดหินหมากเป้งมาจนถึงวัดพระธาตุพนม  สุดเขตแดนที่แก่งกะเบา พญาโสมนาคราชมีอุปนิสัยคล้ายพญาศรีสุทโธนาคราช  คือชอบปฏิบัติธรรม จึงเป็นที่ไว้วางใจและโปรดปรานแก่พญาศรีสุทโธนาคราช
      ๓. พญาชัยยะนาคราช มีเขตแดนจากแก่งกะเบา เรื่อยไปจนสุดแดนที่ปากแม่น้ำโขง ลงทะเลในเขมร ท่านนี้มีฤทธิ์เดชมาก ชอบการรณรงค์ ทำสงคราม คือ ชอบการต่อสู้เป็นนิสัย

พญานาค เป็นราชาแห่งงู จัดเป็นเดรัจฉานด้วย เพราะมีลำตัวไปทางขวางและไม่สามารถบรรลุธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
นาคแบ่ง ออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ
พญานาคเกิดได้ทั้ง 4 แบบ คือ
      - เกิดแบบโอปปาติกะ เกิดแล้วโตทันที  ผุดเกิดสำเร็จเป็นตัวเป็นตน เช่น พรหม เทวดา เปรต หรือสัตว์นรกทั้งปวง
      - เกิดแบบสังเสทชะ เกิดในสิ่งที่หมักหมมในเปลือกในตม ในที่ชื้นแฉะหรือด้วยเหงื่อไคลโดยไม่อาศัยฟองไข่ และครรภ์ของมารดา
        คือเกิดนอกครรภ์ เช่น หนอนหรือเชื้อแบคทีเรีย
     - เกิดแบบชลาพุชะ เกิดจากครรภ์ อย่างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
     - เกิดแบบอัณฑชะ เกิดจากฟองไข่
พญานาคชั้นสูงเกิดแบบโอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง
ที่อยู่ของพญานาคมีตั้งแต่ในแม่น้ำหนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศจนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะหรือมีจิตผูกพันกับแม่น้ำและพญานาค หรืออธิฐานจิตขอเกิดเป็นพญานาค  (ถึงแม้ทำบุญมามากแค่ไหนพอที่จะไปเกิดสวรรค์ชั้นสูง ๆ กว่านี้ได้ แต่ถ้ามีจิตผูกพัน ยึดติดกับอะไรตายไปก็จะไปตรงนั้น) ดังนั้นควรยึดถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งสูงสุดเพราะเป็นสรณะอันประเสริฐที่สุดเพียงหนึ่งเดียว
พวกพญานาคอยู่ ในการปกครองของท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะ
ประเภทของพญานาค นาคแบ่งลำดับชั้นตามหน้าที่ไว้เป็น 4 พวกคือ
      1.) นาคสวรรค์ มีหน้าที่เผ้าวิมานเทพ และเทวดา
      2.) นาคกลางหาว มีหน้าที่ให้ลมให้ฝน
      3.) นาคโลกบาล มีหน้าที่รักษาแม่น้ำลำคลอง
      4.) นาครักษาขุมทรัพย์
เมื่อรวมนาคทั้ง 4 พวกแล้ว จะมีพญานาคทั้งสิ้นประมาณ 512 ชนิด
และแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
      1.) กามรูปีพญานาค พญานาคที่เสวยกามคุณ
      2.) อพามรูปีพญานาค พญานาคที่ไม่เสวยกามคุณ
พญานาคบางพวกมีอายุสั้น บางพวกก็มีอายุยืน อาจจะมีอายุยาวนานเป็นกัลป์ก้ได้ อย่างพญานาคตัวหนึ่งชื่อพญานาคกาละ มีอายุยืนยาวมาก ตั้งแต่พระพุทธเจ้ากุสันธะจนถึงพระสมณโคตมะ และจะมีอายุไปจนถึงพระศรีอาริยะเมตไตรย์ ตามปกติพญานาคจะกลัวพญาครุฑ
พญานาคที่พญาครุฑไม่สามรถกินเป็นอาหารได้ มีอยู่ 7 พวกด้วยกันคือ
      1.) พญานาคที่มีชาติกำเนิดที่ละเอียดกว่า และภพภูมิสูงส่งกว่าพญาครุฑ
      2.) กัมพลสัตรพญานาคราช
      3.) รตรัฐพญานาคราช
      4.) พญานาคราชที่อาศัยอยุ่ในมหาสมุทรสีทันดรทั้งเจ็ดสมุทร
      5.) พญานาคราชที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน
      6.) พญานาคราชที่อาศัยอยู่ในภูเขา
      7.) พญานาคราชที่อาศัยอยู่ในวิม พญานาคที่กล่าวมานี้  เป็นพญานาคที่มีปรากฏอยู่ในชาดกทางพุทธศาสนา
พิษของพญานาค
พญานาคเป็นพญางู เมื่อนึกถึงงูก็ต้องนึกถึงพิษของงู ความน่าเกรงขามของพิษพญานาคใน "คัมภีร์ปรมัตถโชติกพมหาอภิธรรม
มัตถสังหฏีกา" ปริเฉทที่ห้า จัดหมู่ของนาคไว้ตามชนิดของพิษแบ่งเป็น 4 จำพวกคือ
1.) พญานาคมีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วร่างกายจะแข็งไปหมดทั้งตัว อวัยวะต่างๆแม้จะยืดหรืองอ หรือเหยียดออกไป
    ไม่ได้จะปวดทรมานมาก
2.) ปูติมุขพญานาคนี้มีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วแผลจะเน่าเปื่อยมีน้ำเหลืองไหลออกมาตลอดเวลา
3.) อัคคิมุข พญานาคนี้มีพิษชนิดหนึ่ง ถ้ากัดผู้ใดแล้วจะเกิดความร้อนไปทั้งตัวและรอยแผลที่ถูกกัดเป็นริ้วรอยคล้ายถูกไปไหม้
4.) สัตถมุข พญานาคนี้มีพิษชนิดหนึ่ง ซึ้งผู้ใดโดนกัดแล้วก็เหมือนกับถูกฟ้าผ่า
พญานาคทั้งสี่ประเภทนี้ มีวิธีที่จะทำอันตรายด้วยวิธีที่แตกต่างกันดังนี้
1.)ใช้เขี้ยวพิษขบกัด แล้วพิษค่อยแผ่ซ่านไปทั้งตัว
2.) ใช้ตามองดูแล้วพ่นพิษออกมาทางตา
3.) มีพิษไปทั่วร่างกาย เพียงแต่ใช้ร่างกายกระทบเข้า ก็เป็นพิษแผ่ออกมาได้
4.) ใช้ลมหายใจพ่นเป็นพิษออกมาและพิษนั้นจะแผ่ซ่านออกไปทั่วร่างกาย
องค์นาคาธิบดดีทั้ง 9 พระองค์ (แต่ละเศียร) นั้นคือกษัตริย์แห่งเมืองบาดาลที่ปกครองวังนาคินทร์ต่างๆ ซึ่งแต่ละพระองค์เป็นพญานาคที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อยู่ในศีลในธรรมแล้วทั้งสิ้น            
องค์นาคาธิบดีทั้ง 9 พระองค์ (แต่ละเศียร) มีพระนามดังต่อไปนี้                        
1. พญาอนันตนาคราช                        
2. พญามุจลินท์นาคราช                        
3. พญาภุชงค์นาคราช                        
4. พญาศรีสุทโธนาคราช                        
5. พญาศรีสัตตนาคราช
6. พญาเพชรภัทรนาคราชหรือพญาเกล็ดแก้วนาคราช                        
7. พญานาคด าแสนศิริจันทรานาคราช                        
8. พญายัสมันนาคราช                        
9. พญาครรตระศรีเทวานาคราช           
องค์นาคาธิบดี  เทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดิน, กษัตริย์ องค์นาคาธิบดีศรีสุทโธ แต่เดิมเป็นนาคธรรมดาสังเกตุจากที่มีเศียรเดียว แต่ได้เป็นองค์นาคาธิบดี(กษัตริย์แห่งนาค)ฝั่งไทย เพราะองค์อิศวรประทานให้เนื่องจากได้ทำความดีความชอบในการค้นหาโคศุภราชขององค์อิศวร เมื่อคราโคศุภราชหนีมาเที่ยวบนโลกมนุษย์ โดยองค์นาคาธิบดีศรีสุทโธเป็นผู้ค้นพบโคศุภราช   พญานาคราช พญานาคิณีเทียบเท่านายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี นาค- นาคี  เทียบเท่า  ผู้ว่าราชการจังหวัด,ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นาคผู้-นาคเมีย เทียบเท่าประชาชนทั่วไปที่ถือว่าเป็นคนมีศีล     เงือกผู้-เงือกเมีย เทียบเท่าประชาชนทั่วไปแต่ไม่ถือศีลใดๆ   งูตัวผู้-งูตัวเมีย เทียบเท่าประชาชนทั่วไปที่ทำดีได้-ทำชั่วได้  ปกติเหล่าพญานาคเป็นผู้ที่ถือศีลแปดเคร่งครัดมาก พญานาคจะไม่ทำร้ายใคร แต่ก็มีพญานาคชั้นเลว ชอบทำร้ายมนุษย์ตามแม่น้ำ  
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.nagasavan.com/web/index.php?option=com_content&view=article&id=52&Itemid=55

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น